เรื่องวุ่นๆของการ ‘ลบ’ ไฟล์

Delete, Erase, Wipe, Shred



คนไทยเข้าใจการลบอยู่แค่ 2 อย่างคือ delete กับ format แค่นั้น
ภาษาอังกฤษนั้นแบ่งความหมายของการ 'ลบ' ไว้ตั้ง 4 อย่างครับ
delete, erase, wipe, shred
วันนี้ผมขอมาอธิบายความหมายของการ 'ลบ' ให้เข้าใจกันดีกว่า
Delete : ฉันยังอยู่และไม่ได้ไปไหน แค่ซ่อนเธออยู่แค่นั้นเอง
เราใช้คำว่า delete กันบ่อยที่สุด เมื่อคุณลบอะไรก็ตามที่อยู่ในพวกคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์, กล้องดิจิตอลหรืออะไรก็ตามที่เก็บไฟล์ได้ คุณไม่ได้กำลัง 'ลบ' มัน คุณแค่กำลังซ่อนมันอยู่ แค่ไม่รู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหนนั่นเอง
Erase : แน่ใจนะ เราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ
การ erase ข้อมูลคือการทำให้ข้อมูลนั้นหายไปถาวร คนไทยก็ใช้คำว่า ลบ เหมือนเดิม มีบ้างบางคนจะใช้คำว่า 'ล้าง' โดยมีคำย่อยในหมวดนี้คือ
Wipe : ลบเกลี้ยง
เป็นคำย่อยลงมาของคำว่า erase โดยจะใช้ในลักษณะลบทั้งหมด เช่น ลบ Harddisk เพื่อไม่ให้ที่จะกู้ข้อมูลได้อีกครั้ง คำนี้คนไทยหลายคนรู้จักในคำว่า format
Shred : ลบอันนี้ อันนี้ และอันนี้นะ เอาแค่นี้พอ
เลือกลบเป็นบางส่วนคือคำที่เหมาะกับ shred ที่สุด เราจะเลือกได้ว่าจะลบอันไหน อะไร แต่การลบแบบนี้ก็ลบหายไป เอากลับมาไม่ได้เหมือนกัน
แล้ว delete กับ format มีค่าเท่ากันไหม เพราะเราใช้คำนี้กันบ่อยมาก
ต้องตอบเลยว่า ทั้งเท่า และ ไม่เท่ากัน
การ format ใน Windows นั้นมีอยู่ 2 option ใหญ่คือ แบบธรรมดากับแบบเร็ว (quick format) ซึ่งแบบเร็วนี่แหละจะเป็นแค่การ delete ข้อมูลออกไปเท่านั้น ยังคงกู้กลับมาได้ แต่การ format แบบธรรมดานั้นจะเป็นการเขียนข้อมูลเปล่าทับพื้นที่นั้นทั้งหมด 1 รอบ เพราะฉะนั้นวิธีคือการ wipe นั่นเอง อย่าคาดหวังอะไรมากนักกับการต้องกู้ไฟล์กลับมาเพราะโอกาสน้อยซะเหลือเกิน
แล้วทำยังไงถึงจะมีโอกาสกู้ไฟล์ได้เยอะๆละ
delete นั้นเราจะลบไฟล์ให้หายไป แต่มันยังอยู่ใน Harddisk นั่นแหละ ที่เราต้องทำคืออย่าไปเขียนทับมันนั่นเอง นั่นคือ
1. อย่าเพิ่ง Restart คอมพิวเตอร์
2. อย่าสร้างไฟล์ใหม่ เช่น Copy ข้อมูลมาลงคอมพิวเตอร์
3. อย่าย้ายไฟล์ไปไหนมาไหน
เพราะว่าอะไร
คือเราลบไฟล์ไปแล้ว ไฟล์นั้นๆจะหายไปอยู่ในที่ว่างที่เหลืออยู่ใน Harddisk ของเรา ซึ่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยู่ตรงไหน และ Windows ก็ไม่สนใจด้วยซ้ำว่าจะเขียนไฟล์ลงตรงที่ๆมีไฟลที่เราเคยลบอยู่ ถึงแม้โอกาสเขียนลงตรงนั้นจะน้อยก็แถอะ แต่ถ้ามีไฟล์ที่เราลบจำนวนเช่นโฟลเดอร์รูปตอนไปเที่ยวที่มีอยู่เป็นพันๆรูปละ เท่ากับว่าไฟล์มันจะกินพื้นที่ Harddisk (แบบล่องหน) อยู่เท่ากับขนาดของมัน รอให้มีการมาเขียนทับอยู่
เราต้องรีบไปลงโปรแกรมกู้ไฟล์โดยเร็ว หรือมีติดเครื่องเอาไว้แต่แรกก็ยิ่งดี ใช้งานเร็วได้เท่าไหร่ยิ่งดี โอกาสยิ่งเยอะขึ้น
ผมแนะนำโปรแกรม Recuva ใช้ง่าย ใช้ดี แต่สุดท้ายแล้ว การไม่พลาดพลั้งลบอะไรไปคือสิ่งที่ดีที่สุดครับ
กลับด้านกัน หากต้องกันลบข้อมูลถาวรทำยังไง
1. ทำลายจานแม่เหล็กใน Harddisk, หัก Memory card, เผามันทิ้ง
2. ใช้ Degausser (ตัวลบสภาพแม่เหล็ก) ทำลายข้อมูล
3. ใช้โปรแกรมลบข้อมูลแบบถาวร โดยใช้วิธีเขียนข้อมูลทับไปเรื่อยๆ
แนะนำโปรแกรม DBAN (Darik's Boot And Nuke) ใช้งานยากหน่อย แต่ลบเกลี้ยง ต่อให้ CIA มากู้ก็อย่าหวัง

ที่มา : ITMECHAI.COM
เรื่องวุ่นๆของการ ‘ลบ’ ไฟล์ เรื่องวุ่นๆของการ ‘ลบ’ ไฟล์ Reviewed by aeke88 on 03:43 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 เมษายน 2563 เวลา 21:54

    Hello,

    I wanted to send an email about a possible tool to use for complete data erasure. WhiteCanyon is the maker of WipeDrive, SystemSaver, SecureClean and many other software suites for data erasure as well as protecting information from falling into the wrong hands during recycling and repurposing. Please direct follow up emails to Marketing@whitecanyon.com . Thank you for your time. Perhaps there is the possibility to write a new article about data destruction about our software.

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.